Thursday, February 5, 2015

คำถาม

ทำไมนักเรียนส่วนใหญ่ถึงตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

ผลกระทบ

ความเสี่ยงผลกระทบของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

- การตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนา
- การทำแท้ง
- โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่นกามโรค หนองในแท้และเทียม แผลริมอ่อน ไวรัส  ตับอักเสบ บี ฯลฯ
- ตั้งครรภ์มีปัญหาครรภ์เป็นพิษ (ความดันโลหิตสูง การทำงานของไตผิดปกติ มีอาการชักได้)
- ประมาณ 57% มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดภายใน ปี
- ทางด้านสังคมแม่วัยรุ่นกลุ่มนี้จบการศึกษาต่ำกว่าศักยภาพ มี ปัญหาเรื่องการเรียน
สภาวะอารมณ์ที่ไม่มั่นคง มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้า เครียด ที่จะนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ การปกปิดไม่ให้ผู้ปกครองรู้
- การคลอดก่อนกำหนด
- การฆ่าตัวตาย
- ขาดอาหาร วัยรุ่นมักเลือกอาหาร กลัวอ้วน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และใช้ยาบางอย่างที่อาจมีผลต่อทารกในครรภ์ จึง มีความเสี่ยงที่จะได้ทารกที่ตัวเล็ก น้ำหนักน้อย ส่วนหนึ่งของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์จะขาดแคลเซียม โปรตีน ทำให้พบภาวะโลหิตจางมีมาก
- การติดเชื้อ เช่นการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
การเจริญเติบโตของกระดูกเชิงกรานยังไม่สมบูรณ์ ทำให้คลอดลำบากจะต้องผ่าท้องคลอดเพิ่มขึ้นถึง เท่า เทียบกับมารดาวัยอื่นๆ
- อัตราตายของเด็กที่คลอดสูง ผิดปกติแต่กำเนิดหรือเลี้ยงดูเด็กไม่เหมาะสมจนเกิดปัญหาตามมาได้ง่าย

สภาพปัญหา

วัยรุ่นกับการตั้งครรภ์
                 การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น หมายถึง การตั้งครรภ์ในแม่ที่อายุ น้อยกว่า หรือเท่ากับอายุ 19 ปี หรือพบได้ร้อยละ 10-13 ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด
                 แพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดีเผยคลอดลูกวันละ 140 รายเฉลี่ยปีละ หมื่นราย ส่วนใหญ่ท้องโดยไม่ตั้งใจ เพราะมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ชี้มีผลกระทบต่อทั้งตัวแม่เด็กและตัวทารกที่คลอดออกมา
                สถิติ ร.พ.รามาธิบดี พบว่า ประเทศไทยมีการคลอดบุตรของแม่วัยรุ่นสูงถึงวันละ 140 ราย หรือประมาณ ปีละ 50,000 ราย การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นปัจจุบัน คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 20-30 ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด ในจำนวนนี้ ร้อยละ 80 เป็นการตั้งครรภ์แบบไม่ตั้งใจ ร้อยละ 30 นำไปสู่การทำแท้ง เนื่องจากเยาวชนหรือวัยรุ่น เป็นวัยที่ควรจะต้องอยู่ในช่วงของการศึกษาเล่าเรียน หากวัยรุ่นตั้งครรภ์ในช่วงอายุนี้ จะทำให้เกิดผลกระทบที่ตามมาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อนาคตทางการศึกษา
ประเทศไทยมีอัตราการตั้งครรภ์ของแม่วัยรุ่นเทียบกับจำนวนประชากรที่ตั้งครรภ์และคลอด สูงถึง 70 คนต่อประชากร 1,000 คน ขณะที่ประเทศอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลี หรือแม้แต่จีน มีอัตราส่วนของแม่วัยรุ่นเพียง 4-5 คนต่อประชากร 1000คน สิงคโปร์ประมาณ คนต่อ1000แม้แต่ในกัมพูชา อัตราการตั้งครรภ์ของแม่วัยรุ่นยังอยู่ที่ประมาณ 15 คนต่อ 1000 คน ไทยเราติดอันดับในกลุ่มเดียวกับอินเดีย บังกลาเทศ ซึ่งมีประชากรมากกว่าเราหลายเท่า



การป้องกันการตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่นก่อให้เกิดปัญหามากมาย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา ความสำคัญอยู่ที่การป้องกัน ดูแลของพ่อแม่ ผู้ใกล้ชิด โดย
1.             ผู้ปกครอง พ่อแม่ ต้อง ไม่สนับสนุนให้มีเพศสัมพันธ์ก่อนระยะเวลาอันควร ซึ่งต้องเน้นให้ตระหนักในปัญหาที่ตามมาและเรียนรู้จักการ ดูแล และควบคุมตัวเอง
2.             ให้มีการสอนเพศศึกษาอย่างถูกต้อง ตามวัย ให้รักษาสิ่งที่มีค่ามากที่สุดในผู้หญิง เพศชายก็ให้ระวังเรื่องโรคเอดส์ และโรคติดเชื้ออื่นๆ รวมทั้งภาระ และปัญหาอื่นๆที่ต้องตามมาอาจจะเรียนไม่จบ อบรมสั่งสอนปลูกฝัง ตั้งแต่วัยยังเล็กๆ เช่นประถมต้น หรือปลาย สำคัญที่สุด โดยที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องมีความรู้ในการสอนเช่นกัน
3.             ให้มีการปรึกษาหารือระหว่างผู้ปกครอง ครู เด็ก อย่างเปิดเผย จริงใจ
4.             ผู้ปกครองต้องทำตัวเสมือนเพื่อน ดูแลใกล้ชิด ไม่ให้ห่าง ให้อยู่ในสายตาเรา หรือให้รู้ว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน และ คอยสังเกตพฤติกรรม หรือ กิจกรรมต่างๆ ที่ได้ทำและการคบเพื่อนต่างเพศ เป็นใครมาจากไหน ,มีกิจกรรมทำอะไรกันบ้าง ควรรู้จักเพื่อนต่างเพศของลูกด้วย
5.             คอยสอบถามความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนเพศตรงข้าม และความคิดต่อพฤติกรรมทางเพศของบุตรหลาน เช่นคิดอย่างไรที่มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน หากลูกตอบว่าเป็นเรื่องธรรมดาก็น่าเป็นห่วง แต่หากลูกตอบว่าไม่เห็นด้วยก็น่ายินดี แต่ต้องคอยบอกกล่าวว่า จะไม่เปิดโอกาสให้อยู่กับเพื่อนต่างๆเพศ สองต่อสองในที่ ลับ และให้ระวัง ถูกกระทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศ หรือหลอกให้ดื่มเครื่องดื่มบางชนิด ที่ผสมแอลกอฮอล์ และการควบคุมอารมณ์ไม่ให้ตกอยู่ในห้วงของอารมณ์ใคร่
6.             แนะนำ สอน และจัดหาเรื่องการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินแก่วัยรุ่น เป็นอันสุดท้าย
7.             ให้หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ที่ผสม แอลกอฮอล์ ทุกชนิด เพราะจะทำให้ขาดสติ ทำอะไรไม่รู้ตัว
8.             เวลาไปเที่ยวกับใครที่ไหนก็ควรไปเป็นกลุ่ม
9.             ส่งเสริมการวางแผนครอบครัว ในการสอนสุขศึกษาในโรงเรียนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวไม่เพียงแต่จะสอนถึงสิ่งที่ใช้คุมกำเนิดแต่ควรจะสอนวิธีการใช้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพด้วย

การป้องกัน


การป้องกันการตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่นก่อให้เกิดปัญหามากมาย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา ความสำคัญอยู่ที่การป้องกัน ดูแลของพ่อแม่ ผู้ใกล้ชิด โดย
1.             ผู้ปกครอง พ่อแม่ ต้อง ไม่สนับสนุนให้มีเพศสัมพันธ์ก่อนระยะเวลาอันควร ซึ่งต้องเน้นให้ตระหนักในปัญหาที่ตามมาและเรียนรู้จักการ ดูแล และควบคุมตัวเอง
2.             ให้มีการสอนเพศศึกษาอย่างถูกต้อง ตามวัย ให้รักษาสิ่งที่มีค่ามากที่สุดในผู้หญิง เพศชายก็ให้ระวังเรื่องโรคเอดส์ และโรคติดเชื้ออื่นๆ รวมทั้งภาระ และปัญหาอื่นๆที่ต้องตามมาอาจจะเรียนไม่จบ อบรมสั่งสอนปลูกฝัง ตั้งแต่วัยยังเล็กๆ เช่นประถมต้น หรือปลาย สำคัญที่สุด โดยที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องมีความรู้ในการสอนเช่นกัน
3.             ให้มีการปรึกษาหารือระหว่างผู้ปกครอง ครู เด็ก อย่างเปิดเผย จริงใจ
4.             ผู้ปกครองต้องทำตัวเสมือนเพื่อน ดูแลใกล้ชิด ไม่ให้ห่าง ให้อยู่ในสายตาเรา หรือให้รู้ว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน และ คอยสังเกตพฤติกรรม หรือ กิจกรรมต่างๆ ที่ได้ทำและการคบเพื่อนต่างเพศ เป็นใครมาจากไหน ,มีกิจกรรมทำอะไรกันบ้าง ควรรู้จักเพื่อนต่างเพศของลูกด้วย
5.             คอยสอบถามความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนเพศตรงข้าม และความคิดต่อพฤติกรรมทางเพศของบุตรหลาน เช่นคิดอย่างไรที่มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน หากลูกตอบว่าเป็นเรื่องธรรมดาก็น่าเป็นห่วง แต่หากลูกตอบว่าไม่เห็นด้วยก็น่ายินดี แต่ต้องคอยบอกกล่าวว่า จะไม่เปิดโอกาสให้อยู่กับเพื่อนต่างๆเพศ สองต่อสองในที่ ลับ และให้ระวัง ถูกกระทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศ หรือหลอกให้ดื่มเครื่องดื่มบางชนิด ที่ผสมแอลกอฮอล์ และการควบคุมอารมณ์ไม่ให้ตกอยู่ในห้วงของอารมณ์ใคร่
6.             แนะนำ สอน และจัดหาเรื่องการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินแก่วัยรุ่น เป็นอันสุดท้าย
7.             ให้หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ที่ผสม แอลกอฮอล์ ทุกชนิด เพราะจะทำให้ขาดสติ ทำอะไรไม่รู้ตัว
8.             เวลาไปเที่ยวกับใครที่ไหนก็ควรไปเป็นกลุ่ม
9.             ส่งเสริมการวางแผนครอบครัว ในการสอนสุขศึกษาในโรงเรียนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวไม่เพียงแต่จะสอนถึงสิ่งที่ใช้คุมกำเนิดแต่ควรจะสอนวิธีการใช้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพด้วย

http://social-problem.blogspot.com/

บีเธีย(Bethea,1999) ได้ศึกษามารดาที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ส่วนใหญ่เป็นมารดาวัยรุ่น ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ ขาดทักษะในการแก้ปัญหา ทำให้ไม่สนใจดูแลครรภ์ มีความเครียดวิตกกังวลสูงในระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ ระยะคลอดและหลังค
                การศึกษาเรื่องการส่งเสริมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลท่าแพ อำท่าแพ จังหวัดสตูล ผู้ศึกษาได้ทำการค้นคว้าเอกสาร วรรณกรรม แนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการศึกษา ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี
1.             ความหมายของวัยรุ่น
2.             การแบ่งช่วงอายุของวัยรุ่น
3.             พัฒนาการของวัยรุ่น
4.             การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
นิยาม
ปัจจัยที่ทำให้ตั้งครรภ์ก่อนอันควร
- ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
5.             การพัฒนาทักษะชีวิต
6.             แนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
7.             งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.ความหมายของวัยรุ่น
วัยรุ่น(Adolescence) มีรากศัพท์มาจากคำว่า Adolescere ในภาษาละติน ซึ่งแปลว่า ความเจริญ หรือการเจริญย่างเข้าสู่ความมีวุฒิภาวะ(To Grow to Matarity) โดยจะถือเอาความพร้อมทางด้านร่างกายเป็นเครื่องตัดสิน ในระยะนี้ร่างกายจะมีการเจริญเติบโตและมีวุฒิภาวะทางเพศโดยสมบูรณ์ นั่นคือ เพศหญิงจะมีประจำเดือนครั้งแรก และเพศชายเริ่มผลิตเซลล์สืบพันธุ์ได้ ซึ่งจะอยู่ในช่วงการศึกษาระดับมัธยมต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ความหมายของวัยรุ่นนั้นให้คำนิยามหรือคำจำกัดความได้หลายทางดังนี้
วัยรุ่น(Adolescence) หมายถึง วัยที่เชื่อมระหว่างการเป็นเด็กกับการเป็นผู้ใหญ่ เป็นระยะที่ต้องปรับพฤติกรรม วัยเด็ก ไปสู่พฤติกรรมแบบวัยผู้ใหญ่ที่สังคมยอมรับ เด็กวัยรุ่นจึงไม่ใช่เป็นเพียงการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย แต่หมายถึงการเจริญเติบโตทางสังคม ซึ่งอยู่ในกรอบของวัฒนธรรมของแต่ละที่ นักจิตวิทยาหลายคนให้ความเห็นว่าวัยรุ่นเป็นวัยวิกฤติแห่งชีวิต (Critical Period) เช่น Eriksson มีความเห็นว่าวัยรุ่นเป็นวัยวิกฤติแห่งพัฒนาการ วิกฤติทางจิต ทางกายภาพ และทางสังคม ซึ่งทั้งหมดนั้นมีผลต่อพัฒนาชีวิตในขั้นต่อไป(พรพิมล เจียมนาครินทร์.2540:11-13)
องค์การอนามัยโลก(WHO,1998)ให้ความหมายของวัยรุ่นตามการเปลี่ยนในช่วงวัยรุ่น ซึ่งมี ลักษณะ ได้แก่
1.             มีพัฒนาการด้านร่างกายตั้งแต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศจนกระทั่งมีวุฒิภาวะทางเพศอย่างสมบูรณ์
2.             มีพัฒนาการทางด้านจิตใจ โดยการเปลี่ยนแปลงจากเด็กเป็นผู้ใหญ่
3.             มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยเปลี่ยนจากการพึ่งพาครอบครัวมาเป็นผู้ที่ต้องพึ่งตนเองมากขึ้น สามารถหารายได้เป็นของตนเอง
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(2544) ให้ความหมายของวัยรุ่นไว้ว่าเป็นช่วงชีวิตระหว่างวัยเด็กกับวัยผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญเพราะมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้านในระบบต่างๆของร่างกาย รวมทั้งระบบเพศ ด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา และจริยธรรม
สุชา จันทน์เอม(2540) ให้ความหมายของวัยรุ่นว่าเป็นวัยที่ก้าวย่างเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ โดยยึดความพร้อมทางด้านร่างกาย หรือภาวะสูงขีดของร่างกายเป็นเครื่องตัดสินเป็นระยะของชีวิตที่คั่นระหว่างความเป็นเด็กกับผู้ใหญ่ ซึ่งไม่สามารถแบ่งขีดขั้นได้อย่างแน่นอน
อุไร สุมาริธรรม(2545)กล่าวว่าวัยรุ่นหมายถึง วัยที่เชื่อมต่อระหว่างวัยเด็กกับผู้ใหญ่ ซึ่งมักจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่บทบาทการเป็นผู้ใหญ่
อินเกอร์ซอลล์(Ingersoll,1989 อ้างใน อุไร สุมาธิธรรม,2545) ให้ความหมายวัยรุ่นไว้ว่า เป็นช่วงระยะพัฒนาการของบุคคลที่จะต้องสร้างความเป็นเอกลักษณ์แห่งตน และความรู้สึกมีคุณค่าในตน รวมทั้งมีการพัฒนาความสามารถทางสติปัญญา ไปสู่การมีวุฒิภาวะมากขึ้น มีค่านิยมของตนเองและมีการตรียมพร้อมสำหรับบทบาทของผู้ใหญ่
จากที่ได้กล่าวมาแล้วสรุปความหมายวัยรุ่นได้ว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อก้าวจากวัยเด็กเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ โดยเริ่มการพึ่งพาตนเอง และมีการเปลี่ยนแปลงของระบบทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา และจริยธรรม

2. การแบ่งช่วงอายุของวัยรุ่น
องค์การอนามัยโลก (WHO,1989) ได้แบ่งอายุของวัยรุ่นอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 10-19 ปี
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(2544) ได้แบ่งระยะของวัยรุ่นไว้ดังนี้ คือ
1.             วัยก่อนวัยรุ่น (Pre Adolescent) อายุ 10-13 ปี
2.             วัยรุ่นตอนต้น (Early Adolescent ) อายุ 14-16 ปี
3.             วัยรุ่นตอนปลาย (Late Adolescent) อายุ 17-19 ปี
      ศรีเรือน แก้วกังวาน (2545) แบ่งช่วงวัยรุ่นออกเป็น ระยะ วัยแรกรุ่นอายุ 12-15 ปี วัยรุ่นตอนกลางอายุ 16-17 ปี วัยรุ่นตอนปลายอายุ 18-25 ปี
      จันทร์เพ็ญ แสงอรุณ (2551 : 156) แบ่งระยะของวัยรุ่นออกเป็น ช่วง วัยรุ่นตอนต้น อายุ 12-14 ปี วัยรุ่นตอนกลาง อายุ 14-18 ปี วัยรุ่นตอนปลาย อายุ 18-21 ปี
      จากที่ได้กล่าวมาแล้วสรุปการแบ่งอายุของวัยรุ่นได้ว่ามีการแบ่งอายุออกเป็น ช่วง คือ วัยรุ่นตอนต้น วัยรุ่นตอนกลาง และวัยรุ่นตอนปลาย

3.พัฒนาการวัยรุ่น
วัยรุ่นโดยเฉลี่ยจะเริ่มอายุประมาณ 13 ปี แต่ปัจจุบันเด็กจะเข้าสู่วัยรุ่นเร็วขึ้น โดยเฉพาะเด็กหญิงที่ปกติจะเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าผู้ชายประมาณ ปี เด็กบางคนอาจเริมวัยรุ่นก่อนอายุที่กำหนด บางคนอาจถึงวัยรุ่นหลังอายุที่กำหนด ซึ่งวัยรุ่นเป็นวัยที่ร่างกาย จิตใจเปลี่ยนมาเป็นหนุ่มสาวเต็มที่ เริ่มสนใจตนเอง สนใจเพศตรงข้าม เริ่มมองอนาคตคิดถึงอาชีพตนเอง คิดถึงการมีครอบครัว อยากรู้ อยากเห็น อยากมีความสามารถ ความนึกคิดเริ่มเป็นผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่เด็กวัยรุ่นชายจะหลั่งน้ำกามครั้งแรกอายุประมาณ 13-14 ปี เด็กวัยรุ่นชายส่วนมากจะสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง (จรรยา ดวงแก้ว,2540)
ศรีเรือน แก้วกังวาน (2545) ได้จำแนกพัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านอารมณ์ พัฒนาการทางด้านสังคมและพัฒนาการทางด้านสติปัญญา (จรรยา ดวงแก้ว,2540 )พัฒนาการทางด้านจิตใจ ดังนี้
1.             พัฒนาการทางด้านร่างกาย
พัฒนาการทางกายเป็นความงอกงาม ความเจริญเติบโตถึงขีดสมบูรณ์ เพื่อทำหน้าที่อย่างเต็มที่ในระยะวัยรุ่นตอนต้น จะเป็นระยะที่มีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่รวดเร็วมาก และมีบทบาทต่อการพัฒนาการทางด้านอื่นๆให้ประสานไปด้วย เช่นพัฒนาการด้านอารมณ์และพฤติกรรมที่วัยรุ่นแสดงออกมา ความเจริญเติบโตส่วนนอกที่มองเห็นได้ง่าย เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก รูปหน้า สัดส่วนของร่างกาย ลักษณะเส้นผม ความเจริญภายใน เช่น การทำหน้าที่ของต่อมต่างๆ โครงสร้างกระดูกแข็งแรง มีการผลิตเซลล์สืบพันธุ์ในเด็กชาย การมีประจำเดือนในเด็กหญิง ความเจริญเติบโตจะมีช่วงระยะพัก ถ้าผ่านช่วงนี้ไปจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เด็กที่มีรูปร่างผอมอาจมีรูปร่างอ้วนขึ้นกว่าเดิม ระบบการย่อยอาหารจะทำงานรวดเร็ว เพราะร่างกายกำลังเจริญเติบโต เด็กจะหิวเก่ง กินเก่ง กินไม่เลือก ง่วงนอนบ่อย เป็นระยะกำลังกินกำลังนอน กล้ามเนื้อเด็กชายจะเจริญเติบโตมาก อวัยวะเริ่มทำงาน เสียงของเด็กชายจะแตกและห้าว ตอนต้นร่างกายจะไม่ได้สัดส่วน เด็กจะอึดอัดเก้งก้าง อ่อนไหวง่ายกับสัดส่วนอวัยวะต่างๆของร่างกาย
2.             พัฒนาการทางอารมณ์
การเปลี่ยนแปลงและการเจริญเติบโตทางร่างกายทั้งภายในและภายนอก กระทบกระเทือนแบบแผนอารมณ์ของเด็กวัยแรกรุ่น เด็กมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย สับสน อ่อนไหว มีความเข้มของอารมณ์สูง ไม่มั่นคง ระดับความเข้มข้นของอารมณ์แต่ละอย่างขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพดั้งเดิมของเด็ก ขึ้นอยู่กับตัวเร้าที่ทำให้เด็กเกิดอารมณ์ เด็กจะเริ่มแสดงบุคลิกประจำตัวออกมาให้ผู้อื่นทราบได้เด่นชัดแล้วในขณะนี้ เช่น อารมณ์ร้อน อารมณ์ขี้วิตกกังวล อารมณ์อ่อนไหวง่าย เจ้าอารมณ์ ขี้อิจฉา มีความรู้สึกด้อยเด่น ฝ่ายเด็กสามารถรู้และทราบได้ และยิ่งระยะปลายวัยรุ่น อารมณ์ของเด็กจะเหมือนพายุบุแคม (Storm and Stress) อารมณ์ที่เกิดกับเด็กวัยรุ่นนั้นมีทุกประเภท อาทิ รัก ชอบ โกรธ เกลียด อิจฉา ริษยา โอ้อวด แข่งดี อ่อนไหว หลงใหล วุ่นวายใจ เห็นอกเห็นใจ สับสน หงุดหงิด ไม่ว่าอารมณ์ใดมักมีความรุนแรง อ่อนไหวง่าย เปลี่ยนแปลงง่าย  ควบคุมอารมณ์ยังไม่สู้ดี บางครั้งมั่นใจสูงบางครั้งไม่แน่ใจ บางคราวเห็นแก่ตัว บางคราวเห็นอกเห็นกัน บางครั้งดื้อรั้น เพราะวัยรุ่นมีลักษณะอารมณ์เป็นแบบนี้ บุคคลต่างวัยจึงต้องใช้ความอดทนมากเพื่อจะได้เข้าใจพวกเขา เนื่องจากวัยรุ่นเข้ากับบุคคลต่างวัยได้ยาก จึงมักเกาะกลุ่มกันได้ดีมากเป็นพิเศษกว่าวัยอื่น เพราะเข้าใจและยอมรับกันได้ง่าย
ลักษณะที่สำคัญทางอารมณ์ของวัยรุ่น(อุไร สุมาธิธรรม,2545) มีความรุนแรงและยังควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ เมื่อเกิดอารมณ์ต่างๆขึ้นมาจึงมักทำอะไรตามอารมณ์ โดยไม่ทันยั้งคิด มีความอ่อนไหวและเปลี่ยนแปลงง่าย  มักจะเกิดกับอารมณ์ทางลบ เช่น ผิดหวัง เสียใจ เด็กมักหมกมุ่น จึงควรให้เวลาแก่เด็ก ปล่อยให้เด็กจัดการอารมณ์เหล่านั้น คอยให้กำลังใจสังเกตเพื่อป้องกันการตัดสินใจที่อันตราย
3.พัฒนาการสังคม
ในช่วงลักษณะทางสังคมเด็กวัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กมากส่วนหนึ่ง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญาของเด็ก ทำให้วัยรุ่นมีการเรียนรู้และปรับตัวทางสังคมอย่างมาก เด็กจะพัฒนาไปเป็นผู้ใหญ่โดยการพึ่งพาตนเอง มีความรับผิดชอบ เด็กจึงเปลี่ยนจากการที่ต้องใกล้ชิดครอบครัวมาเป็นการออกไปสู่สังคมที่กว้าง เพราะเด็กมีวุฒิภาวะทางปัญญา จึงต้องการเป็นตัวของตัวเอง ชอบอยู่ตามลำพัง มีห้องมีสัดส่วนเป็นของตนเอง ไม่ชอบให้ผู้ใหญ่มาบังคับ ก้าวก่ายความเป็นส่วนตัว ถ้าครอบครัวเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จะทำให้วัยรุ่นสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับสังคมได้นอกจากนี้วัยรุ่นเป็นวัยที่มีความต้องการอย่างรุนแรง โดยเฉพาะความต้องการการยอมรับในกลุ่มเพื่อน สังคม ต้องการให้ครอบครัวยอมรับว่าตนเองเป็นผู้ใหญ่ แต่ความต้องการของวัยรุ่นส่วนมากเพื่อนจะมีอิทธิพลมากที่สุด
4.             พัฒนาการทางสติปํญญา
เนื่องจากวัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆมากมายทางร่างกาย ทำให้วัยรุ่นมีพลัง มีความกระตือรือร้น มีความสามารถเพิ่มมากขึ้น วัยรุ่นจึงรู้จักใช้ความคิด พิจารณาเหตุผล สามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกับอื่นได้ รู้จักสังเกตการกระทำ ความคิดผู้อื่น พยายามปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเองให้เป็นที่ยอมรับของสังคม โดยเอาแบบอย่างจากคนอื่นที่ตนเห็นว่าดี หากวัยรุ่นที่มองเห็นแต่ความต้อยต่ำ ปมด้อยของตนเอง ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มีจิตใจไม่หนักแน่น ก็จะอาจถูกชักนำให้ลองในสิ่งต่างๆได้ง่าย วัยรุ่นที่ความคิดสร้างสรรค์และมีอุดมการณ์ รู้จักการวางแผนชีวิตในอนาคต มีอารมณ์หนักแน่น มั่นใจในตนเอง กล้าแสดงออก กล้าเผชิญปัญหาในชีวิตประจำวัน และสามารถแก้ไขปัญหาชีวิตได้ จะทำให้วัยรุ่นเป็นบุคคลที่รักษาความสำนึกในคุณค่าแห่งตนไว้ในระดับสูง
4.1  วัยรุ่นเป็นช่วงที่ผู้ใหญ่กล่าวว่า มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ดี ได้เร็ว และกว้างไกล เพราะว่าความสามารถทางสติปัญญาของวัยรุ่นมีพัฒนาการถึงระดับเท่าเทียมกับผู้ใหญ่ จะด้อยกว่าก็เพียงประสบการณ์เท่านั้น ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
4.1.1 มีความเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น สัญลักษณ์ กฎเกณฑ์ มักพบวัยรุ่นชอบสร้างสัญลักษณ์ประจำกลุ่มของตน
4.1.2 มีความสามารถในเชิงวิทยาศาสตร์ รู้จักคิดสาเหตุและผล สามารถคิดหาทางแก้ไขปัญหาได้หลายแบบ นอกจากนี้ยังทำให้ไม่ยอมเชื่ออะไรง่ายๆ จนกว่าจะพิสูจน์ได้ด้วนตนเอง
4.1.3 มีความกว้างไกล สนใจสิ่งใหม่ๆ ไม่ชอบการตอกย้ำซ้ำซาก จึงรู้สึกน่าเบื่อเมื่อผู้ใหญ่สอนซ้ำๆ
4.1.4 มีจินตนาการสูง ชอบวาดความฝัน ชอบสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เช่น บทกวี การดัดแปลงแต่งรถหรือการแต่งห้องให้ดูสวยงามตามความคิดของเขา
4.1.5 มีความสามารถในการจดจำดีมาก แต่วัยรุ่นไม่ค่อยใช้ความจำให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนมากนัก เป็นเพราะเด็กชอบแสดงความคิดเห็นมากกว่า จึงไม่ชอบการเรียนการสอยที่เน้นความจำ
4.1.6 มีความสามารถในการประเมินความคิดของตนเอง รู้ว่าตนเองคิดอะไรอยู่  วางแผนจะทำอะไรต่อไป การคิดของตนจะมีประสิทธิภาพเพียงใด
5. พัฒนาการทางด้านจิตใจ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจสภาพทางอารมณ์ของเด็ก เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น มักมีอารมณ์ไม่ค่อยคงที่ คือเปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็ว ลักษณะที่พบบ่อยคือ ความวิตกกังวล เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย รวมถึงอารมณ์ทางเพศที่เพิ่มสูงขึ้น
5.1 วัยรุ่นอายุ 11-14 ปี การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ สภาพอารมณ์ของเด็กวัยรุ่นเปลี่ยนแปลงง่าย รวดเร็วและวู่วาม ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ได้แก่ ฮอร์โมนเพศสภาพร่างกายและสังคม วัยรุ่นมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์เพศ และพฤติกรรมทางเพศ นอกจากนี้วัยรุ่นระยะนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลต่ออารมณ์ ทำให้ต้องปรับตัวกับสภาพแวดล้อม กลุ่มเพื่อน จะสนิทสนมกับเพื่อนเพศเดียวกัน (จรรยา ดวงแก้ว, 2540)
5.2 วัยรุ่นอายุ 15-19 ปี วัยรุ่นระยะนี้ การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และจิตใจค่อนข้างราบรื่น เริ่มยอมรับสภาพร่างกายและความเป็นเพศชายหรือเพศหญิงของตน การคบเพื่อนจะชอบคบเพื่อนทั้งหญิงและชาย มีมิตรที่ยาวนานและมั่นคง มีการสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนใหม่ มีเจตคติต่อต้านผู้ใหญ่ เป็นวัยที่มีการผลักดันทางเพศรุนแรง แต่ในช่วงนี้สติปัญญาจะเพิ่มพูนมาก สามารถวิเคราะห์ คิดอย่างมีเหตุผล ประเมินความสามารถของตนเอง แต่ในขณะเดียวกันก็มองสิ่งต่างๆอย่างแคบๆ เนื่องจากการขาดประสบการณ์ ที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ(จรรยา ดวงแก้ว, 2540)

4.การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
ความหมาย/นิยาม
การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร  คือ การตั้งครรภ์ในขณะที่ผู้หญิงที่มีอายุ ต่ำกว่า 20 ปี
ชวนชม สกนธวัฒน์ และคณะ (2530: 17) กล่าวว่า การตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนาเป็นครรภ์ที่ไม่ต้องการ เป็นการตั้งครรภ์ที่ยังไม่พร้อม อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งคู่สมรสที่แต่งงานแล้วและยัง
ไม่แต่งงาน มักเป็นปัญหาในวัยรุ่นและการแก้ปัญหาคือ การทำแท้ง

ปัจจัยที่มีทำให้ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
(กุลวดี เถนว้อง(ราชภักดี),2551) พบว่าเด็กที่เคยมีเพศสัมพันธ์มีการกระทำ และความคิดที่เสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมทางเพศ คือกิจกรรมยามว่างเสี่ยง ,ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง คิดว่ารายได้ไม่เพียงพอ และมักจะเปิดรับแหล่งข้อมูลข่าวสารประเภทที่มีความเสี่ยงมากกว่า เด็กที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ 0.05 โดยพบว่าปัจจัยด้านเพศ สถานภาพของบิดามารดา กิจกรรมยามว่าง ความเพียงพอของรายได้ การไม่เห็นคุณค่าในตนเอง และความสัมพันธ์ของครูกับเด็ก เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะเรื่องเพศส่งผลกระทบต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรมากที่สุด
ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
เป็นปัญหาใหญ่ในสังคมอีกปัญหาหนึ่ง เนื่องจากหญิงเหล่านี้ยังไม่พร้อมที่จะรับบทบาทการเป็นมารดา มีทัศคติที่ไม่ดีต่อการตั้งครรภ์ วิตกกังวล ไม่สามารถเผชิญและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งปัญหาหญิงที่เกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนา สามารถ จำแนกได้กว้าง ๆ เป็น 3 ด้าน คือ (พัชรินทร์, 2542:7)
1. ปัญหาทางด้านร่างกาย ได้แก่ เมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นทำ ให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวได้ไม่สะดวกเหมือนก่อนตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในร่างกายหญิงที่ยังเจริญเติบโตเป็นวัยรุ่นไม่เต็มที่ หญิงตั้งครรภ์บางรายมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะรับประทานอาหารไม่ได้หรือได้น้อย นอนไม่หลับ เหนื่อยและอ่อนเพลียง่าย เป็นต้น
2. ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ ได้แก่ ความรู้สึกอับอาย หวาดระแวง เนื่องจากต้องปกปิด ไม่กล้าและไม่ต้องการให้ผู้อื่นรู้ถึงการตั้งครรภ์ ตัวหญิงตั้งครรภ์ไม่สามารถทำใจยอมรับการตั้งครรภ์ในครั้งนี้ได้ ไม่พร้อมที่จะรับบทการเป็นมารดาจึงปฏิเสธบุตร ทำร้ายบุตรหรืออยู่ในครรภ์ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น คิดทำแท้ง ทำร้ายตัวเอง อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดโกรธง่ายเครียดจนรับประทานอาหารไม่ได้หรือนอนไม่หลับ รู้สึกไม่สบายใจ สับสน ร้องไห้ ท้อแท้ สิ้นหวัง วิตกกังวล ไม่สามารถวางแผนจัดการกับชีวิตได้
3. ปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจ ได้แก่ ฝ่ายชายหรือสามีไม่รับผิดชอบ ครอบครัวไม่ยอมรับ สังคมไม่ยอมรับ ต้องหยุดพักการเรียน ไม่สามารถประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงตนเองได้หรือต้องลาออกจากงานที่ประจำอยู่ ทำให้มีปัญหาทางการเงิน ขาดที่พักพิงอาศัยในระหว่างการตั้งครรภ์การคลอด และหลังคลอด และขาดการศึกษาที่ดี
กาญจนา แซ่ลิ่ม (2548) กล่าวไว้ว่า เป็นภาวะวิกฤติของชีวิตที่เต็มไปด้วยความเครียด วิตกกังวล ลังเลใจ นอกจากผลกระทบจากปัจจัยภายในแล้ว มีผลต่อการปรับตัวของมารดาเพื่อเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้เลี้ยงดูทารกที่เกิดใหม่  ปัญหาการไม่ยอมรับจากสังคม ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจการเงิน และปัญหาการสร้างครอบครัวใหม่ ทำให้วัยรุ่นไม่มีความสุข และไม่พึงพอใจในการตั้งครรภ์
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมสำหรับวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ในวัยเรียน ได้แก่ การพักการเรียนหรือออกจากโรงเรียน บางรายถูกทิ้งจากครอบครัวและกลุ่มเพื่อน ถูกตำหนิ รู้สึกอับอาย  ว้าเหว่ โดดเดี่ยว ขาดที่พึ่ง บางรายอาจเป็นมารดาเพียงลำพัง (Ladewig,London, and Olds,1994,220) การตั้งครรภ์ยังส่งผลกระทบต่อการคิดฆ่าตัวตายเพื่อหลีกหนีปัญหา เพราะคิดว่าตนเองไม่มีค่า (Clark,1979)
จากการที่ได้กล่าวมาแล้วสรุปผลกระทบที่เกิดจากการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรได้ดังนี้ มีผลกระทบต่อสภาวะทางร่างกาย คือการคลื่นไส้ อาเจียน ทางด้านจิตใจ ทำให้เกิดความวิตกกังวล คิดทำร้ายตัวเอง ทางด้านสังคม ต้องลาออกจากโรงเรียน อับอายเพื่อน และด้านเศรษฐกิจ เกิดปัญหาทางด้านการเงิน ปัญหาการสร้างครอบครัวใหม่ ทำให้ชีวิตวัยรุ่นไม่มีความสุข

5.ความหมายของทักษะชีวิต
เป็นความสามารถของบุคคลที่จะจัดการกับปัญหาต่าง ๆ รอบตัวในสภาพสังคมปัจจุบันและเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต
5.1 องค์ประกอบของทักษะชีวิต
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดองค์ประกอบทักษะชีวิตที่สำคัญ
ที่จะสร้างและพัฒนาเป็นภูมิคุ้มกันชีวิตให้กับเด็กและเยาวชนในสภาพสังคมปัจจุบันและเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตไว้ 4 องค์ประกอบ พร้อมทั้งพฤติกรรมที่คาดหวังและตัวชี้วัดทักษะชีวิตในแต่ละองค์ประกอบ ดังนี้
พฤติกรรมทักษะชีวิตที่คาดหวัง ตัวชี้วัด
องค์ประกอบทักษะชีวิต พฤติกรรมทักษะชีวิตที่คาดหวัง และตัวชี้วัดและระดับมัธยมศึกษา
องค์ประกอบที่ 1 การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น หมายถึง การรู้ความถนัดความสามารถ รู้จุดเด่นจุดด้อยของตนเอง เข้าใจความแตกต่างของแต่ละบุคคล รู้จักตนเอง ยอมรับ เห็นคุณค่าและภาคภูมิใจในตนเองและผู้อื่น มีเป้าหมายชีวิต และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

พฤติกรรมทักษะชีวิตที่คาดหวัง
ตัวชี้วัด
1. รู้จักความถนัด ความสามารถและบุคลิกภาพของตนเอง
1.1 วิเคราะห์ความถนัด ความสามารถ ของตนเองได้
1.2 วิเคราะห์ลักษณะส่วนตน อุปนิสัย และค่านิยมของตนเองได้
2. รู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเอง
2.1 วิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อยของตนเองได้
2.2 กำหนดเป้าหมายในชีวิตของตนเองได้อย่างเหมาะสม
3. ยอมรับความแตกต่างระหว่างตนเองและผู้อื่น
ยอมรับในความแตกต่างทางความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม
ของตนเองและผู้อื่นได้อย่างมีเหตุผล
4. มองตนเองและผู้อื่นในแง่บวก
สะท้อนมุมมองที่ดีของตนเองและผู้อื่นได้
5. รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
5.1 แสดงความรู้สึกรักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นได้
5.2 นำเสนอคุณลักษณะที่ดีมีคุณค่าของตนเองและผู้อื่นได้
6. มีความภาคภูมิใจในตนเองและผู้อื่น
6.1 แสดงความรู้สึกภาคภูมิใจในความสามารถ ความดีของตนเองและผู้อื่น
6.2 แสดงความสามารถและความดีงามที่ตนเองภาคภูมิใจให้ผู้อื่นรับรู้ได้
7. มีความความเชื่อมั่นในตนเองและผู้อื่น
7.1 กล้าแสดงออกทางความคิด ความรู้สึกและการกระทำของตนเองด้วยความมั่นใจ
7.2 ยอมรับในความคิด ความรู้สึกและการกระทำที่ดีของผู้อื่น
8. เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น
8.1 เคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่นตามวิถีประชาธิปไตย
8.2 ปฏิบัติตามสิทธิของตนเอง
9. มีทักษะในการกำหนดเป้าหมายและ
ทิศทางสู่ความสำเร็จ
9.1 กำหนดทิศทางและวางแผนการดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมายหรือความสำเร็จที่ตนเองคาดหวังได้
9.2 ปฏิบัติตามแผนการดำเนินชีวิตที่กำหนดไว้และปรับปรุงให้มีโอกาสประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้

องค์ประกอบที่ 2 การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การแยกแยะข้อมูลข่าวสาร ปัญหาและสถานการณ์รอบตัว วิพากษ์วิจารณ์และประเมินสถานการณ์รอบตัวด้วยหลักเหตุผลและข้อมูลที่ถูกต้อง รับรู้ปัญหา สาเหตุของปัญหา หาทางเลือกและตัดสินใจในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์
พฤติกรรมทักษะชีวิตที่คาดหวัง
ตัวชี้วัด
1. เลือกรับข้อมูลข่าวสารอย่างไตร่ตรองและรู้เท่าทันสังคมที่เปลี่ยนแปลง
วิเคราะห์ประโยชน์และคุณค่าของข้อมูลข่าวสารเลือกใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อสร้างภูมิความรู้และการตัดสินใจเมื่อเผชิญสถานการณ์รอบตัว
2. ตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เผชิญอย่างมีเหตุผลและรอบคอบ
2.1 ประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เผชิญด้วยข้อมูลและเหตุผลที่ถูกต้อง
2.2 ตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เผชิญด้วยทางเลือกที่เหมาะสมและไม่เกิดผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
3. แก้ปัญหาในสถานการณ์วิกฤตได้อย่าง
เป็นระบบ
3.1 แก้ปัญหาเมื่อเผชิญสถานการณ์วิกฤตอย่างไตร่ตรองตามขั้นตอนหลักการแก้ปัญหา
3.2 วิเคราะห์ผลกระทบและหาทางป้องกันหรือแก้ปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
3.3 วางตัวและกำหนดท่าทีได้เหมาะสมกับสถานการณ์
4. มีจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
สร้างสรรค์ผลงานและแสดงพฤติกรรมได้เป็นที่ยอมรับ
5. มองโลกในแง่ดี
5.1 บอกสิ่งที่มองเห็นหรือมุมมองด้านดีในบรรยากาศหรือสภาพเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาได้
5.1 มีความยืดหยุ่นทางความคิด
6. มีทักษะในการแสวงหาข้อมูลและใช้ข้อมูล
ให้เป็นประโยชน์

แสวงหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่มี
ประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น
7. ประเมินและสร้างข้อสรุปบทเรียนชีวิต
ของตนเอง
ประเมินและสรุปผลการกระทำ การตัดสินใจและการแก้ปัญหาในสถานการณ์คับขันจากประสบการณ์ที่ดีของตนเองและผู้อื่น
เป็นบทเรียนชีวิตของตนเอง

องค์ประกอบที่ 3 การจัดการกับอารมณ์และความเครียด
การจัดการกับอารมณ์และความเครียด หมายถึง ความเข้าใจและรู้เท่าทันภาวะอารมณ์ของ บุคคล รู้สาเหตุของความเครียด รู้วิธีการควบคุมอารมณ์และความเครียด รู้วิธีผ่อนคลาย หลีกเลี่ยง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ไปในทางที่ดี

พฤติกรรมทักษะชีวิตที่คาดหวัง
ตัวชี้วัด
1. ประเมินและรู้เท่าทันสภาวะอารมณ์
ที่เกิดขึ้นกับตนเอง
1.1 สำรวจและประเมินอารมณ์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของตนเองได้
1.2 เลือกวิธีการจัดการหรือควบคุมอารมณ์ของตนเองได้เหมาะสม
2. จัดการความขัดแย้งต่าง ๆ ได้ด้วยวิธี
ที่เหมาะสม
2.1 เลือกวิธีการจัดการความขัดแย้งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
2.2 ยุติความรุนแรงในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยสันติวิธี
3. คลายเครียดด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์
มีวิธีการคลายความเครียดที่ไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
4. รู้จักสร้างความสุขให้กับตนเองและผู้อื่น
4.1 มีวิธีการสร้างความสุขให้กับตนเองและผู้อื่นได้เหมาะสมกับเหตุการณ์
4.2 ปรับความคิด ความรู้สึก อารมณ์ ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความไม่พอใจหรือความเครียดได้ด้วยวิธีการที่ถูกต้องและสร้างสรรค์


องค์ประกอบที่ 4 การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น หมายถึง การเข้าใจมุมมอง อารมณ์ ความรู้สึกของผู้อื่น ใช้ภาษาพูดและภาษากายเพื่อสื่อสารความรู้สึกนึกคิดของตนเอง รับรู้ความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของผู้อื่น วางตัวได้ถูกต้องเหมาะสมในสถานการณ์ต่าง ๆ ใช้การสื่อสารที่สร้างสัมพันธภาพที่ดี สร้างความร่วมมือและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

พฤติกรรมทักษะชีวิตที่คาดหวัง
ตัวชี้วัด
1. รู้จักปฏิเสธเพื่อนในสถานการณ์เสี่ยงและ
รู้จักเตือนเพื่อนให้หลีกเลี่ยงความเสี่ยง
หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทาง
ที่ถูกต้อง
1.1 ปฏิเสธเพื่อนในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิเสธ
1.2 เตือนเพื่อนหรือผู้ใกล้ชิดที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ถูกต้องตามขั้นตอนทักษะการเตือน
2. กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์
กล้าแสดงความคิดเห็นประกอบเหตุผลด้วยวิธีการสื่อสารที่ดี
3. ทำงานร่วมกับผู้อื่นตามวิถีประชาธิปไตย
ทำงานร่วมกับผู้อื่นบนพื้นฐานของความเป็นประชาธิปไตยได้อย่างราบรื่น
4. มีจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่น
อาสาช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจโดยไม่หวังผลตอบแทน
5. สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นด้วยการ
สื่อสารเชิงบวก
มีวิธีการสื่อสารกับผู้อื่นทั้งด้านภาษาพูด ภาษากาย ด้วยความสุภาพและเป็นมิตร
6. เคารพกฎกติกาของสังคม
ปฏิบัติตนตามกฎกติกาของสังคมอย่างเต็มใจทุกสถานการณ์
7. ให้คำปรึกษาแก่ผู้อื่นได้
ให้คำปรึกษาแนะนำที่ถูกต้องแก่ผู้อื่น และผู้อื่นสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองได้

การพัฒนาและเสริมสร้างทักษะชีวิตเป็นภูมิคุ้มกันชีวิตให้แก่เด็กและเยาวชนในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงและเตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในอนาคต  โดยการเสริมสร้างทักษะชีวิตให้มากที่สุด โดยให้กิจกรรมที่สามารถพัฒนาและเสริมสร้างทักษะชีวิตได้ทุกองค์ประกอบของทักษะชีวิต
ที่มา สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ

6.แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีพัฒนาบุคลิกภาพของอิริคสัน เป็นทฤษฎีที่ถูกนำเสนอ โดย อิริค โฮมเบอร์เกอร์ (Erik Hamburger Erikson) อาจารย์ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ ชาวเยอรมัน เป็นทฤษฎีที่พัฒนามาจากทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ โดยทฤษฎีบุคลิกภาพของอิริกสัน เชื่อว่า ตนปัจจุบัน (Ego) มีความสำคัญกว่าตนเบื้องต้น(Id) เพราะการแสดงพฤติกรรมเช่นไรย่อมสัมพันธ์กับสังคม หรือเรียกทฤษฎีนี้อีกชื่อว่า ทฤษฎีจิตสังคม และมีความเชื่อเบื้องต้นดังนี้
1.การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและสังคม เป็นไปอย่างสอดคล้องกับโครงสร้างทางชีววิทยา ดังนั้นช่วงแรกของชีวิต ซึ่งการเจริญของอวัยวะส่วนช่องปากและทางเดินอาหารเจริญเป็นส่วนแรก พฤติกรรมช่วงแรก คือ การดูด การกลืน และการกิน
2.มนุษย์จะดำเนินชีวิตไปตามระบบของสังคม เนื่องจากต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคม ในแต่ละช่วงวัยสังคมต้องการให้มนุษย์มีบทบาทต่างกัน ดังนั้นมนุษย์ในแต่ละวัยจึงต้องปรับบุคลิกภาพ ให้พัฒนาไปตามวัย
3.คุณค่าของมนุษย์ คือ การมีความคิดสร้างสรรค์ มีอุดมการณ์ มีความต้องการการปรับปรุงความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
4.พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเกิดจากแรงขับทางเพศ แรงขับที่จะดำเนินชีวิตอยู่ แรงขับที่จะทำลาย
5.พฤติกรรมของมนุษย์แต่ละคน สามารถศึกษาได้จากการเล่น และการแสดงอารมณ์ในวัยเด็ก
ทั้งนี้ทฤษฎีพัฒนาบุคลิกภาพของอิริคสันได้เรียงลำดับการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์ออกเป็น 8 ขั้น ดังนี้
1.ขั้นความไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ คือระหว่างอายุ 0-2 ปี
เด็กจะเกิดความรู้สึกไว้วางใจเมื่อได้รับการตอบสนองทางร่างกาย จิตใจ สังคม มีความรู้สึกไว้วางใจผู้ใกล้ชิด ขยายไปสู่บุคคลอื่น พบว่าเด็กจะกลายเป็นคนไว้วางใจผู้อื่นได้ง่าย แต่ถ้าเด็กไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการ จะโตเป็นผู้ที่หวาดระแวง ไม่รักตนเอง ไม่รักผู้อื่น
2.ขั้นความเชื่อมั่นในตัวเองหรือความละอายใจ ความไม่แน่ใจ คือ ระหว่างอายุ 2-3 ปี
เด็กวัยนี้จะอยากเป็นตัวของตัวเอง อยากทำอะไรด้วยตนเอง ด้วยเหตุนี้หากมีการควบคุม จะทำให้ไม่แน่ใจในตนเอง รู้สึกละอายใจในการกระทำที่ถูกตำหนิ เกิดการพัฒนาเป็นบุคลิกที่ชอบแอบๆ ซ่อนๆ ปิดบัง พูดปด หากปล่อยให้ทำอะไรอิสระโดยไม่มีขอบเขต จะเกิดการพัฒนาเป็นบุคลิกภาพในลักษณะที่เป็นคนปรับตัวยาก
3.ขั้นความคิดริเริ่มหรือความรู้สึกผิด คือระหว่างอายุ 3-6 ปี
พัฒนาการทางด้านร่างกายเป็นวัยที่สามารถพึ่งพิงตนเองได้ มีความคิดฝันจินตนาการ อยากรู้อยากเห็น คิดสร้างสรรค์ เมื่อทำอะไรผิดเด็กจะรู้สึกผิดและกลัวการลงโทษ เกิดการพัฒนาเป็นบุคลิกภาพในลักษณะหลีกหนีความจริง ชอบแสดงความก้าวร้าว
4.ขั้นความขยันหมั่นเพียรหรือความรู้สึกมีปมด้อย คือระหว่างอายุ 6-12 ปี
เด็กวัยนี้จะพัฒนาเรื่องความขยันขันแข็ง เคารพกฎระเบียบ มีวัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรม หากมอบหมายงานที่เกินความสามารถ ถ้าเด็กทำไม่สำเร็จ เด็กจะรู้สึกล้มเหลว มีปมด้อย
5.ขั้นความมีเอกลักษณ์ประจำตัวหรือความสับสนบทบาทของตนเอง คือระหว่างอายุ 12-20 ปี
เป็นช่วงวัยที่ต้องการความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มีจุดหมายในชีวิต มีกลุ่มเพื่อน และยึดแนวปฏิบัติตามกลุ่ม มีแบบอย่างจากบุคคลที่ตรงกับอุดมคติ เมื่อแบบความต้องการพ่อแม่ขัดแย้งกับตนอาจมีปฏิกิริยารุนแรง หรือต่อต้านเกิดสัมพันธภาพที่ไม่ดีกับผู้ใหญ่ หากเป็นเช่นนี้บ่อยๆจะทำให้เด็กสับสน ไม่มั่นคงต่อไป
6.ขั้นความใกล้ชิดสนิทสนมหรือการแยกตัว คือระหว่างอายุ 20-40 ปี
เป็นวัยที่มีการพัฒนาความรู้สึกรัก ความผูกพัน การแสวงมิตรภาพที่สนิทสนม แสวงคู่ครอง รู้จักเสียสละบางอย่างเพื่อความมั่นคงในความรัก พัฒนาเป็นวัยผู้ใหญ่ในลักษณะของผู้ที่มีสัมพันธภาพกับผู้อื่นอย่างไว้เนื้อเชื่อใจ
7.ขั้นการให้การสนับสนุนบุคคลอื่นหรือการเป็นห่วงเฉพาะตน คือระหว่างอายุ 40-60 ปี
เป็นวัยที่มีการพัฒนาความรู้สึกแบ่งปัน เผื่อแผ่ เอื้ออาทร หากเป็นผู้ที่สมบูรณ์ในการพัฒนาบุคลิกภาพที่ผ่านมา จะทำให้วัยนี้มีบุคลิกภาพเป็นแบบส่งเสริมผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่อ่อนเยาว์กว่า เป็นวัยที่เห็นคุณค่าในตนเอง แต่หากที่ผ่านมาไม่สมบูรณ์ จะเป็นคนที่เห็นแก่ตัว ชอบแสดงอำนาจ หรือไม่ยุ่งกับใคร อาจเป็นคนเฉื่อยชา ขาดความกระตือรือร้น
8.ขั้นบุคลิกภาพแห่งความมั่นคงหรือความหมดหวัง คือช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป
เป็นวัยที่พัฒนาความรู้สึกมั่นคง ภูมิใจ ในประสบการณ์ที่ผ่านมา หากในขั้นที่ผ่านมาเป็นผู้ที่มีความสำเร็จในการพัฒนาการบุคลิกภาพ ก็จะเป็นคนที่มั่นคงในชีวิต รอบคอบ ฉลาด ยอมรับความจริง แต่รายที่รู้สึกล้มเหลวที่ผ่านมา ก็จะมีบุคลิกภาพเป็นแบบผู้สูงอายุที่รู้สึกขับข้องใจ และท้อแท้ในชีวิต

7.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
นางเฉลิมศรี อานกำปัง (2552) จากการรวบรวมข้อมูลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอหนึ่ง ของจังหวัด นครราชสีมา พบว่า มีนักเรียนที่ต้องลาออก เพื่อแต่งงานมีครอบครัวขณะที่กำลังศึกษาอยู่ ปีการศึกษา 2547 จำนวน คน  คิดเป็นร้อยละ 2.5  ปี 2548 จำนวน คน คิดเป็นร้อยละ 4.59  ปีการศึกษา 2549จำนวน คน คิดเป็นร้อยละ 4.55 ส่วนใหญ่เด็กวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ในขณะกำลังศึกษาอยู่ ต้องออกจากโรงเรียน โดยที่ยังไม่สำเร็จการศึกษา และในปี 2551 มีวัยรุ่นหญิงชั้นมัธยมศึกษาที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อายุไม่เกิน 18 ปี จำนวน ราย และได้ลาออกจากโรงเรียนในขณะที่กำลังศึกษาอยู่ทั้ง ราย
อารี ใจคำปัน (2549) พบว่าสถานการณ์ที่นำไปสู่การมีเพสสัมพันธ์แบบไม่ตั้งใจ ได้แก่ การที่เพื่อนยุแหย่ ทำให้ต้องทดลอง การอยู่กันตามลำพังสองต่อสอง มีการดื่มแอลกอฮอล์ การดูภาพจูงใจทางเพศในคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ (ประพันธ์ โอประเสริฐ และสมพล พงศ์ไทย,2534, หน้า 289)พบว่าพัฒนาการตามวัย เป็นสาเหตุการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการทดลอง เรียนรู้ ต้องการการยอมรับของสังคมและกลุ่มเพื่อน มีความสนใจเพศตรงข้าม ประกอบกับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลต่อค่านิยมการมีเพศสัมพันธ์
(วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์ ,2553)  วัยรุ่นไทยยังมีความรู้ที่จำกัดในเรื่องเพศศึกษา มีค่านิยมทางเพศที่เป็นอิสระ และมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ปลอดภัย ทำให้มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์รวมทั้งการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเรียนและอนาคตของตัววัยรุ่นเอง งานวิจัยที่ศึกษาความต้องการในการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาของวัยรุ่นไทยในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อค่านิยมและพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นมี 5 ประการ คือ 1) บทบาททางสังคมที่คลุมเครือ ซึ่งนำไปสู่การรับรู้เอกลักษณ์ที่สับสน (confused identity), 2) มีความอยากรู้อยากเห็นและการรับรู้ทางเพศที่สูงขึ้น, 3) ขาดความรู้และทักษะชีวิต (life skills) ที่จำเป็น, 4) บิดามารดาไม่ค่อยมีส่วนร่วมและ 5) ขาดการควบคุมตนเองและชอบความเสี่ยง และขาดทักษะชีวิตที่จะช่วยให้สามารถจัดการกับความต้องการทางเพศของตนเองหรือเจรจาต่อรองในสถานการณ์ที่อาจถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่เต็มใจ
การศึกษาของ ระจิตตา ณ พัทลุง ในนักเรียนอาชีวศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร พบว่าเพศหญิงเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุเฉลี่ย 14 ปี การศึกษาของปวีณา สายสูง ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนระดับอาชีวศึกษาในจังหวัดน่าน พบว่านักศึกษาหญิงมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุเฉลี่ย17.8 ปี และการศึกษาของพิสมัย นพรัตน์ พบว่าวัยรุ่นหญิงในจังหวัดอุตรดิตถ์มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุเฉลี่ย 15.2 ปี จาก ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าวัยรุ่นหญิงมีแนวโน้มที่จะมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรมากยิ่งขึ้น อันเป็นผลให้เกิดปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงทางที่นำไปสู่การเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนาได้ในด้านลักษณะการมีเพศสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีเพศสัมพันธ์กับคนรักมากที่สุด เมื่อพิจารณาการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า มีการใช้ถุงยางอนามัยเพียงร้อยละ 37.8 ที่ใช้ได้อย่างถูกต้องและใช้เป็นประจำ
สุภาชัย สาระจรัส (2553) การสอนเพศศึกษารอบด้าน สอนให้เยาวชนรู้เท่าทันพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ ค่านิยมด้านเพศ ตลอดจนสอนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์สถานการณ์เรื่องเพศของตนเองอย่างมีวิจารณญาณ รวมถึงทักษะการใช้อุปกรณ์ป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์ เพื่อให้มีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย ปราศจากโรค
จิราภรณ์ ตามประวัติและจินตนา พึ่งโพธิ์ (2547) พยายามแก้ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร โดยการพยายามสร้างความตระหนักในการเห็นคุณค่าในตนเอง มีทัศนคติทางเพศในการรักนวลสงวลตัว  สร้างความตระหนักเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรโดยอาศัยหลักเสริมแรงเพื่อพัฒนากระบวนการตัดสินใจภายในจิตใจ นำไปสู่การมีทัศนคติทางเพศในการรักนวลสงวนตัhttp://social-problem.blogspot.com/

ภูมิคุ้มกันชีวิต : การป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร


         น้องๆ เยาวชนคงจะได้รับรู้เกี่ยวกับเพศศึกษากันมาบ้างนะครับ.....นับว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามเลย ซึ่งในวัยนี้อะไรๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะฮอร์โมนในร่างกาย มีผลกระตุ้นให้มีความสนใจกับเพศตรงข้าม รวมทั้งแรงขับตามธรรมชาติ ที่ทำให้ใคร่รู้ ใคร่ลอง ในเรื่องเพศ จนเป็นปัญหาที่วัยรุ่นปัจจุบันประสบปัญหากันมากมาย ในโอกาสนี้เมนู "ภูมิคุ้มกันชีวิต" ขอนำเสนอกลวิธีการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันสมควร ให้น้องๆ เยาวชนได้รับรู้ไว้เป็นเกราะป้องกันตนเพื่อชีวิตที่ดีกว่า...มีคุณค่า น่านับถือตนเองได้ มาเรียนรู้ถึงบันได 13 ขั้น นำพาให้พ้นภัยได้ ดังนี้ 

         1. เรียนรู้ถึงความคิดต่างกันของหญิงชายในเรื่องเพศ
         ผู้ชายมีเพศสัมพันธ์ได้โดยไม่มีความรัก ขณะที่ผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์เพราะความรัก ผู้ชายมองการมีเพศสัมพันธ์ว่าเป็นการหาความสุขร่วมกันและไม่ต้องผูกพัน ขณะที่ผู้หญิงเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับชายใดจะต้องการมีความผูกพันกับชายคนนั้น หลังจากมีเพศสัมพันธ์ ผู้ชายไม่ได้คิดว่าจะต้องมีความผูกพันอะไรต่อไป ขณะที่ผู้หญิงคิดว่าเมื่อมีเพศสัมพันธ์กันแล้ว เธอจะต้องมีความผูกพันกับชีวิตเขา จึงเรียกความรับผิดชอบจากผู้ชาย ความตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างชายหญิง จะเป็นการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่คาดคิด ซึ่งจะนำปัญหาต่าง ๆ มากมายที่ยากแก่การแก้ไข 

         2. วัยรุ่นชายควรคิดเสมอว่าวัยรุ่นหญิงเป็นเพศเดียวกับแม่ พี่น้อง ควรช่วยเหลือและให้เกียรติ 

         3. ควรหลีกเลี่ยงการถูกเนื้อต้องตัว เพราะอาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่คาดคิดได้ 

         4. ควรหลี่กเลี่ยงการไปพักค้างคืนร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือตามลำพังโดยไม่มีผู้ใหญ่คอยดูแล 

         5. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ด้วยกันตามลำพังในที่ลับตาคน 

         6. ควรหลีกเลี่ยงการไปในสถานที่เปลี่ยว โรงแรมและสถานเริงรมย์ทุกรูปแบบ 

         7. ควรหลีกเลี่ยงการมีนัดหมายกับเพศตรงข้ามในยามวิกาล 

         8. ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสารเสพติดทุกชนิด 

         9. วัยรุ่นหญิงควรแต่งกายเรียบร้อย และมิดชิด ไม่ควรแต่งกายในลักษณะที่ยั่วยุ ให้ผู้พบเห็นเกิดอารมณ์ทางเพศ เช่น เสื้อสายเดี่ยว เสื้อเกาะอก กระโปรงสั้น และกางเกงรัดรูปเกินไป

         10. หลีกเลี่ยงการคบเพื่อนหรือออกเที่ยวกับเพื่อนต่างเพศที่ไม่รู้จักดีพอ 

         11. ควรหลีกเลี่ยงการออกเที่ยวหรือเดินทางในยามวิกาล หรือการเดินทางในที่เปลี่ยว 

         12. วัยรุ่นชายหญิงควรวางตัวต่อกันอย่างสุภาพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และไม่ควรมีการล่วงเกินทางเพศ หรือวางตัวสนิทสนมใกล้ชิดเกินไป 

         13. การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ในสถานการณ์ที่เหมาะสม(การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เป็นทางออกที่ดีทางหนึ่ง ใช้เป็นไม้ตายสุดท้าย ควรทำในที่ลับ และอย่าพร่ำเพรื่อจนเกินไป)
 

(คัดลอก: จากบทความรณรงค์วันเอดส์โลก; นพ.สุรศักดิ์ โควสุภัทร์.โรงพยาบาลหนองคาย)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://icare.kapook.com/aids.php?ac=detail&s_id=103&id=1140